มาทำความรู้จัก Vector Space กันดีกว่า
Linear Algebra มาทำความรู้จัก Vector Space กันดีกว่า
Thu Jun 09 2022
muitsfriday.dev
Linear Algebra มาทำความรู้จัก Vector Space กันดีกว่า
Thu Jun 09 2022
ใน Linear algebra หัวข้อ vector space(เวกเตอร์สเปซ) คือส่วนที่เข้าใจยากสำหรับมือใหม่เริ่มศึกษา(เพราะว่ามันเป็น math จ๋ามากๆเลย) แต่เป็นส่วนที่ทฤษฎีที่สำคัญสำหรับการไปศึกษาต่อเรื่องหลังๆ มากดังนั้นบทความนี้เราจะมาพยายามทำความเข้าใจมันอย่างง่ายๆกัน
เวกเตอร์สเปซ เราจะแยกออกเป็นสองคำก่อน space(สเปซ) หมายถึงพื้นที่เสมือนใช้เก็บของบางอย่างที่มีคุณสมบัติร่วมกันบางประการ ในที่นี้เราศึกษาเรื่องเวกเตอร์สเปซ ของที่อยู่ข้างในนี้ก็จะถูกเรียกว่าเวกเตอร์
โดยที่เวกเตอร์นั้นให้มองว่าเป็นอะไรก็ได้ แค่มันมีชื่อว่าเวกเตอร์ เพียงเพราะมันอยู่ภายในเวกเตอร์สเปซ ให้เราลืมเวกเตอร์ที่เราเคยเรียนมาไปก่อน
เวกเตอร์สเปซมีพิเศษอีกอย่างนึงคือ นอกจากพื้นที่เก็บเวกเตอร์แล้ว ยังมี “scala field(ฟีลด์สเกล่า)” พ่วงมาด้วยเสมอ แต่เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจ เราไม่ต้องไปสนใจว่าฟีลด์คืออะไรในตอนนี้ ให้มองว่ามันเป็นระบบตัวเลขธรรมดาๆ แบบที่เรารู้จักทั่วไปก่อน
เวกเตอร์สเปซมีได้หลายหน้าตา หลายยี่ห้อ แต่ไม่ว่าไครจะสร้างเวกเตอร์สเปซแบบไหนมาจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเหล่านี้เสียก่อน
ตัวเวกเตอร์สเปซจะต้องมี operation(การดำเนินการ) อยู่สองแบบ อย่างแรกเราจะเรียกว่า “การบวก” การบวกนี้จะเป็นการบวกกันระหว่างเวกเตอร์ด้วยกันเองสองตัว ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นเวกเตอร์ตัวใหม่ (หรืออาจจะบวกแล้วได้ตัวก็ได้นะ ไม่ได้ห้ามอะไร)
นอกจากนั้นยังต้องมี “การคูณ” แต่การคูณไม่ได้เกิดขึ้นกับระหว่างเวกเตอร์ แต่เป็นการดำเนินการที่เชื่อมระหว่าง เวกเตอร์กับสเกล่า
การบวกและการคูณในเวกเตอร์สเปซนี้มีหน้าตาได้หลากหลาย เราอาจจะเจอการบวกแบบพิศดาลได้ในเวกเตอร์สเปซแบบแปลกๆ แต่ไม่ว่ายังไงการดำเนินการพวกนี้ก็ยังมีกฎที่ต้องทำตามอยู่ ไม่ใช่สร้างมามั่วๆยังไงก็ได้
การจะสร้างการบวกและการคูณมาเราจะต้องมั่นใจว่า ผลลัพธ์จากการบวกและคูณนั้นไม่ว่าเราจะเลือกเวกเตอร์คู่ไหน หรือสเกล่าตัวใดมาบวก/คูณ กันก็จะยังอยู่ในเวกเตอร์เสปซเดิมอยู่ ไม่ได้กระเด็นออกไปที่ไหน
เราเรียกคุณสมบัติแบบนี้ว่า สมบัติปิด (closed)
ถ้าเราเคยชินกับการบวกและคูณในระบบจำนวนจริง เราจะนึกได้เลยว่าเราสามารถสลับที่การบวกได้ก็คือไม่ว่าเราจะเอาตัวเลขไหนขึ้นก่อนในการบวก ผลลัพธ์ก็ได้เท่าเดิม
ในหัวข้อนี้จะให้ u v w แทนเวกเตอร์ และ k l แทนค่าสเกล่า
$$ v + u = u + v $$
นอกจากนั้นถ้าการบวกเกิดขึ้นมากกว่า 1 ในทั้งเดียวเราสามารถคำนวณค่าของคู่ไหนก่อนก็ได้ ก็คือ
$$ v + u + w = (u + v) + w = v + (u + w) $$
ทั้งสองคุณสมบัตินี้ก็ต้องมีในการบวกเวกเตอร์เช่นกัน
สำหรับการคูณนั้นจะแตกต่างจากระบบจำนวนจริงนิดนึง เพราะมันเป็นการเอาสเกล่าเข้ามาคูณกับเวกเตอร์ ดังนั้นสมบัติที่จะต้องมีจะเป็นลักษณะนี้แทน
$$ klv = (kl)v = k(lv) $$
เราจะเรียกว่า การบวกและคูณมีสมบัติการสลับที่(cumulative) และเปลี่ยนหมู่(associativity)
ผมจะยกตัวอย่างการสร้างเวกเตอร์สเปซของผมขึ้นมา ผมจะสร้างเวกเตอร์เสปซที่เก็บ “คู่อันดับ” โดยมีการบวกแบบแปลกๆ ที่ผมคิดขึ้นมาเองแบบนี้
$$ (a, b) + (c, d) = (2a + c, b + d) $$
การบวกที่ผมตั้งใจสร้างขึ้นมานี้ไม่สามารถใช้ได้ เพราะขัดกับกฎ การสลับที่
ตัวอย่างคือถ้าเราลองดูเวกเตอร์สองตัวในสเปซ (2, 1) และ (3, 0) ถ้าผมจับบวกกันในแบบของผมเองจะได้ผลลัพธ์เป็น (7, 1)
ขณะที่เมื่อผมสลับที่แล้ว (3, 0) + (2, 1) จะได้ผลลัพธ์เป็น (8, 1) ซึ่งมันไม่เท่ากัน
เมื่อเราเอาสเกล่ามาคูณกับเวกเตอร์ที่บวกกันอยู่ จะมีค่าเท่ากับการที่เอาสเกล่าเข้าไปคูณเวกเตอร์ทีละตัว ดังนี้
$$ k(u + v) = ku + kv $$
เหมือนในระบบเลขที่เราชินกันเลย แต่ u กับ v เป็นเวกเตอร์เท่านั้น และ k ก็จะต้องเป็นสเกล่า (เพราะการคูณทำได้เฉพาะสเกล่า-เวกเตอร์)
เรามีชื่อเรียกคุณสมบัติแบบนี้ว่า สมบัติการแจกแจง(distributive)
สมาชิกเอกลักษณ์(identity) คือเวกเตอร์ที่มีพฤติกรรมพิเศษก็คือ “เอาไปบวกกับเวกเตอร์อะไรในสเปซ ก็ได้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์เดิม” ถ้าในระบบจำนวนจริงก็อารมเลข 0 นั่นแหละ ในเวกเตอร์สเปซของเราจะต้องมีเวกเตอร์ที่มีสมบัตินี้อยู่ และจะต้องมีเพียงตัวเดียวด้วย
สมมติว่าผมสร้างเวกเตอร์สเปซขึ้นมาเอง เป็นคู่อันดับเหมือนเดิม (a, b) การบวกของผมกำหนดให้เป็นการบวกแปลกๆ แบบนี้
$$ (a, b) + (c, d) = (a + c, b + d + 1) $$
สมาชิกเอกลักษณ์ของผมก็จะได้เป็น $ (0, -1) $ เพราะสำหรับทุก a, b ไม่ว่าจะเป็นค่าอะไร
$$ (a, b) + (0, -1) = (a + 0, b + -1 + 1) = (a, b) $$ และ $$ (0, -1) + (a, b) = (0 + a, -1 + b + 1) = (a, b) $$
เสมอ
ถ้ามีคนบอกว่านี่คือเวกเตอร์สเปซ เราจะหาสมาชิกเอกลักษณ์ในนั้นได้เสมอ และถ้าเราจะสร้างเวกเตอร์สเปซเราก็ต้องทำให้มันมีสมาชิกเอกลักษณ์ด้วย
อันนี้จะต่างจากเอกลัฏษณ์หน่อยตรงที่ เอกลักษณ์คือสมาชิกหนึ่งตัวในเสปซที่มีคุณสมบัติตามที่ว่ามาข้างต้น แต่ว่าสมาชิกผกผันจะไม่ได้เป็นแบบนั้น
สมาชิกผกผัน(inverse) จะอยู่ในรูปของคู่สมาชิกกับเวกเตอร์ที่เราสนใจ เช่นในเสปซเรามีเวกเตอร์ชื่อ $v$ เราจะต้องหาสมาชิกผกผันของมันได้ และเรียกมันว่า $v^{-1}$ (อ่านว่า อินเวอร์สของ v หรือ ผกผันของ v)
สมาชิกผกผันไม่ใช่เราจะหามาแบบส่งๆยังไงก็ได้ แต่มีกฎอยู่ว่ามันจะเป็นสมาชิกผกผันก็ต่อมือเอาไปบวกกันแล้วได้เอกลักษณ์เช่น สมาชิกผกผันของ $v$ คือ $v^{-1}$ แล้วเราจะได้ว่า เมื่อมันบวกกันจะได้เป็นเอกลักษณ์เสมอ
$$ v + v^{-1} = e = v^{-1} + v $$
นอกจากนั้นทุกเวกเตอร์ในสเปซเราจะต้องหาคู่ผกผันของมันได้
เราพูดถึงลักษณะของเวกเตอร์สเปซกันมาหมดแล้ว เราจะมาดูตัวอย่างเวกเตอร์สเปซกันบ้าง
เวกเตอร์ | การบวก | การคูณสเกล่า | เอกลักษณ์ | ผกผันของ v |
---|---|---|---|---|
คู่อันดับ $(a,b)$ | การบวกคู่อันดับ $(a,b) + (c,d) = (a+c, b+d)$ | $k(a,b) = (ka, kb)$ | (0,0) | $(a,b)^{-1} = (-a,-b)$ |
เมทริกซ์ $\begin{bmatrix}a_{11} & a_{12}\a_{21} & a_{22}\end{bmatrix}$ | $\begin{bmatrix}a_{11} & a_{12}\a_{21} & a_{22}\end{bmatrix} + \begin{bmatrix}b_{11} & b_{12}\b_{21} & b_{22}\end{bmatrix} = \begin{bmatrix}a_{11} + b_{11} & a_{12}+b_{12}\a_{21}+b_{21} & a_{22}+b_{22}\end{bmatrix}$ | $k(a,b) = (ka, kb)$ | (0,0) | $(a,b)^{-1} = (-a,-b)$ |
พหุนาม $a_0 + a_1 x + a_2 x^2$ | การบวกพหุนาม $a_0 + a_1 x + a_2 x^2 + b_0 + b_1 x + b_2 x^2$ | $k(a_0 + a_1 x + a_2 x^2) = k a_0 + k a_1 x + k a_2 x^2$ | 0 | $-1(a_0 + a_1 x + a_2 x^2) = -a_0 - a_1 x - a_2 x^2$ |
หากคุณอยากมีเวกเตอร์สเปซเป็นของตัวเอง เริ่มกำหนดดังขั้นตอนนี้
ลองสร้างเวกเตอร์สเปซดูนะ
การที่เรารู้ว่าสิ่งนี้เป้นเวกเตอร์สเปซ จะทำให้เรารู้คุณสมชัติต่างๆของมันเพิ่มอีกมากมาย เช่น ความเป็นอิสระ มิติ ค่าไอเกน การแปลง
ดังนั้นมันเลยเป็นโครงสร้างที่สำคัญมากๆ เรียกได้ว่า linear algebra นี่ศึกษาเวกเตอร์สเปซกันเกือบทั้งเรื่องเลยทีเดียว